Panelists จากการประชุมวิชาการ AOSD 07 พูดเสนอมุมมองที่น่าสนใจหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับ AOP ในอีก 10 ปีข้างหน้าว่าจะมีรูปแบบอย่างไร ผมเลยสรุปและรวมเข้ากันกับแนวคิดที่เสนอโดย Keynote Speakers 2 คนจาก AOSD 07 เช่นกันครับ งานวิจัยของผมมีหลาย ๆ ส่วนที่เป็นไปในแนวทางที่ทั้ง Panelists และ Keynote เสนอมา ผมเลยจะแทรกความเห็นของผมลงไปด้วยนะครับ
Crosscutting Concerns ไม่จำเป็นต้องตัดขวางเฉพาะการไหลของโปรแกรม - ประเด็นนี้ค่อนข้างตรงใจผมครับ เนื่องจากงานวิจัยใกล้เคียงกับที่ผมทำอยู่ ก็สามารถอธิบายได้ด้วย AOP และมันก็ไม่ใช่การไหลของโปรแกรมเสียทีเดียว ซึ่งจุดนี้ยืนยันแนวคิดการใช้งาน AOP ในโลกของ High-Performance Computing ได้ค่อนข้างดีครับ
การทำให้ภาษาเชิงลักษณะเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยการปรับปรุงส่วนของภาษาที่ใช้อธิบาย pointcut เป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาปลายเปิดให้ค้นคว้ากันครับ - ผมเห็นด้วยกับความคิดดังกล่าว เพราะทีมอื่น ๆ ในแล็บบอกให้ผมฟังว่าภาษาทาง AOP มันดูซับซ้อนและเข้าใจยาก อันนี้จริงครับ เพราะมันทรงพลังมาก และก็ค่อนข้างท้าทายที่เราจะทำให้ภาษาง่ายขึ้นและยังทรงพลังอยู่
จุดใหญ่จุดหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการโปรแกรมเชิงลักษณะในอีก 10 ปีถัดไปคือการพัฒนาและกระตุ้นการใช้งาน aspect ในระดับ domain ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างที่จะท้าทายพอสมควรอีกเช่นกันครับ ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับประเด็นข้างบน นั้นคือ ผมมองว่าเราต้องมีภาษาที่ง่ายพอที่จะทำให้คนกลุ่มใหญ่ใช้ AOP ก่อน แล้วการนำ AOP ไปใช้ในระดับ domain ก็จะตามมามากขั้นครับ
จุดหลัก ๆ อีกประเด็นที่ผมจับได้ก็คือ ความพยายามในการสนับสนุน AOP สำหรับภาษาพลวัตร แนวคิดนี้ค่อนข้างทำได้ยาก เนื่องจากธรรมชาติของภาษาพลวัตร เช่น Ruby หรือ Groovy นั้นไม่ได้ต้องการ AOP อย่างชัดเจน เพราะกลไกของ Metaclass สามารถสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมขณะเวลารันได้อยู่แล้ว จึงเป็นหัวข้อที่ท้าทายมาเรื่องหนึ่งครับ
Thursday, April 12, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment